เลือกซื้อบ้าน ด้วยโครงสร้างแบบไหนดี ระหว่าง พรีคาสท์ โครงสร้างสำเร็จรูป กับ อิฐมวลเบา

จะเลือกซื้อบ้านทั้งที ก็ต้องศึกษากันละเอียดหน่อย ไม่ได้ดูแค่ ราคากับทำเล แบบบ้าน แบรน รวมถึง โครงสร้างบ้าน ก็ต้องเอามาพิจารณาประกอบการตัดสินใจด้วย เพราะบ้านหนึ่งหลัง ราคาเป็นหลักล้าน ก็ต้องคิดหนักเป็นพิเศษ

ถ้าย้อนกลับไปก่อนปี 1990 วงการอสังหาริมทรัพย์ไทยยังไม่เติบโตเท่าปัจจุบัน เทคโนโลยีการก่อสร้าง ก็ยังไม่ได้ทันสมัยมาก วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างหลักของบ้านจัดสรรเกือบทั้งหมดใช้ ‘อิฐแดง’ ก่อขึ้นมาแล้วเอาปูนฉาบ แต่ปัจจุบันนวัตกรรมที่ถูกใช้ในการสร้างบ้านเป็นหลักไม่ใช่อิฐแดงอีกต่อไป แต่เป็น 2 วัสดุที่เกือบทุกโครงการทั่วประเทศเลือกใช้คือ ‘อิฐมวลเบา’ และ ‘พรีคาสท์’ ซึ่งทำให้งานเสร็จไวขึ้นมาก ราคาถูก และทนทานมากกว่าอิฐแดง

ระบบการสร้างบ้านแบบปูน

ระบบการก่อสร้างบ้าน ที่มีมาอย่างยาวนาน โดยแบ่งข้อดี และ ข้อเสีย ที่ทุกคนต้องรู้ดังนี้

ข้อดีของบ้านแบบก่อ-ฉาบ

·        ความแข็งแกรง ทนทาน  ในเรื่องของความแข็งแกร่ง ต้องยกนิ้วให้กับการสร้างบ้านด้วยปูนเลย เพราะมีฐานที่ยึดเหนี่ยวแน่นหนา ทนความร้อน สร้างความเย็น เราคงเคยได้ยินเรื่อง อุณหภูมิภายในบ้าน ที่ร้อนอยู่บ่อยๆ ซึ่งถ้าก่อสร้างผนัง ควรเลือกใช้

·        วัสดุที่ลดความร้อนได้ อย่างการก่อสร้างด้วยปูน หากเลือกใช้ อิฐมวลเบา บ้านก็จะมีการถ่ายเท ระบายอากาศได้ดี เนื่องจากตัวอิฐมวลเบา มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อน เนื้ออิฐมีลักษณะเป็นฟองอากาศ ช่วยประหยัดพลังงาน และ ลดอัตราการสิ้นเปลืองของค่าไฟฟ้าลงไปได้เยอะ

·        การต่อเติมที่ง่าย แน่นอนว่า เมื่อสร้างบ้านทั้งที เจ้าของบ้านก็อยากต่อเติมส่วนนั้น ส่วนนี้เพิ่ม เพื่อให้บ้านดูสมบูรณ์ การก่อสร้างด้วยปูนจึงง่ายต่อการแต่งเติมบ้าน สามารถทุบ เจาะ แขวน เพิ่มเติมไปได้เลย ไม่ทำให้เสียรูปร่างของบ้าน แต่ก็ต้องใช้ผู้ชำนาญ มาช่วยวิเคราะห์ต่อเติม ให้เหมาะสมกับตัวบ้าน

·        ขนาดมีมาตรฐาน การก่อสร้างด้วยปูน จะมีการใช้อิฐที่นำมาฉาบปูนก่อเป็นผนังขึ้นไป ซึ่งขนาดของอิฐก็จะมีมาตรฐานของมันเอง จึงสามารถใช้งาน ขึ้นรูป ตัดแต่งได้ตามขนาด และ รูปแบบที่เจ้าของบ้านต้องการ ช่วยประหยัดวัสดุ และ แรงงานในการก่อฉาบ อีกทั้ง หากใช้อิฐมวลเบา ในการก่อสร้าง จะมีน้ำหนักเบา และก่อสร้างได้เร็วขึ้น

·        เก็บเสียงได้ดี อยู่ที่การออกแบบ ว่าก่อสร้างให้หนาทึบมากแค่ไหน เพราะโดยส่วนใหญ่ การก่อสร้างด้วยปูน จะช่วยเก็บเสียงได้ดีอยู่แล้ว ยิ่งถ้าเป็นอิฐมวลเบา จะลดเสียงสะท้อนได้ดี กว่าอิฐมอญด้วย  **เนื่องจากอิฐมวลเบามีลักษณะเป็นรูพรุน ความหนาแน่นต่ำกว่าอิฐมอญหรือพรีแคส ทำให้ลดความหนาแน่นของตรงกลางในการส่งผ่านส่งผ่านเสียงทะลุผนังไปอีกด้านได้ดี

·        ทนต่อไฟ บ้านผนังปูนจะทนทานต่อไฟมากกว่าผนังสำเร็จรูป และอาจจะทนได้ถึงประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งทำให้คนที่พักอาศัยรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น

ข้อเสียของบ้านแบบก่อ-ฉาบ

มีข้อดีกันไปแล้ว ก็ต้องมีข้อเสีย แต่จะไม่พบมาก ในการสร้างก่อปูน เพราะเป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันมานาน ในการสร้างบ้าน ข้อเสียจึงมีเพียง
 
·        บ้านปูน ผนังอาจแตกร้าวง่าย  เกิดจากการฉาบผนังในช่วงที่ก่อสร้างเสร็จใหม่ ขณะที่ปล่อยให้ปูนฉาบแห้งและเซทตัวให้ยึดติดกับผนัง อาจเกิดการแห้งในแต่ละพื้นที่ไม่พร้อมกัน ทำให้เกิดแตกร้าวที่เกิดจากการหัวตัวของซีเมนต์ได้ แต่อาการนี้แก้ไม่ยากเพียบกรีดผนังแล้วฉาบปูนเข้าไปใหม่ก็จะหาย

·        ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญในการก่อสร้าง และฝีมือละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมา

·        ราคาแพงกว่าอิฐทั่วไป

·        ดูดซึมน้ำปานกลาง บางส่วนอาจมีกลิ่นอับชื้นได้ ปัญหาดังกล่าว ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่มากนัก สำหรับการก่อสร้างบ้านแบบปูน ซึ่งหากเข้าใจปัญหา และอุดรอยรั่วปัญหาเหล่านี้ได้ เลือกวัสดุต่างๆที่มีคุณภาพ สร้างบ้านอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญ การก่อสร้างบ้านแบบปูนก็จะเกิดปัญหาน้อยมากที่สุด กว่าประเภทอื่นๆ

ระบบก่อสร้างสำเร็จรูปแบบ Precast

สร้างบ้านด้วยผนังสำเร็จรูป เทคโนโลยีใหม่ยอดนิยม บ้านสร้างเสร็จรวดเร็ว โดยมีข้อดี ข้อเสียในการสร้างบ้าน ดังนี้
 
ข้อดีของบ้านแบบ Precast


·        ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่เร็วขึ้น คุณภาพงานก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานที่ผลิตจากโรงงาน สร้างโดยระบบคอมพิวเตอร์ที่วางไว้แล้ว ทำให้หลายๆโครงการเปิดได้อย่างรวดเร็ว ทันความต้องการของตลาด

·        ช่วยในการจัดวางพื้นที่ใช้สอยให้มากขึ้น เนื่องจากชิ้นส่วน เหมือนการต่อจิ๊กซอว์ เป็นงานที่นำมาวางตามแบบได้เลย ไม่ขึ้นกับสภาพอากาศและฝีมือช่าง ทำให้จัดวางรูปแบบของพื้นที่ ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ เนื่องจากไม่มีเสาบ้าน

·        ลดปัญหาด้านการขาดแรงงาน เพราะเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูป ชิ้นส่วน ส่วนใหญ่ทำในโรงงานไม่ต้องใช้คนงานเยอะในการจัดการ

·        ลดปัญหาเรื่องฝุ่น และ เสียงรบกวนขณะก่อสร้าง และการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้


ข้อเสียของบ้านแบบ Precast
แม้ระบบ Precast จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ง่ายต่อการสร้างบ้าน แต่ก็มีข้อเสียที่พบเป็นปัญหาบ่อยๆ ดังนี้
 
·        รอยร้าว สามารถเกิดขึ้นได้ ในร่องที่ถูกออกแบบไว้บริเวณรอยต่อระหว่างผนัง หากติดตั้งไม่ได้คุณภาพ จะเกิดการแตกร้าว รั่วซึม หากเกิดการแตกร้าวแล้ว แก้ไขยาก เพราะคอนกรีตมีความแข็งสูงมากและต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการอักคอนกรีตเพื่อซ่อมรอยร้าวที่เกิดขึ้น

·        ต้องเตรียมงานล่วงหน้านาน และต้องรอบคอบ เพราะต้องคำนึงถึงการผลิต ขนส่ง และติดตั้ง

·        มีข้อจำกัดในการออกแบบการก่อสร้างให้สวยงาม เพราะชิ้นส่วนเป็นแบบสำเร็จรูป ต้องทำออกมาง่ายต่อการผลิต และ ขนส่ง
·        ข้อจำกัดในการขนส่ง ซึ่งจะต้องเลือกรถขนส่งเฉพาะ ให้ได้กับขนาดชิ้นส่วนที่หลากหลาย

·        ความแข็งแรง ขึ้นอยู่กับจุดเชื่อมต่อชิ้นส่วนเข้าด้วยการ มีความซับซ้อนในการผลิตและติดตั้ง

·        เก็บความร้อนและคายความร้อนช้า เมื่อโดนแดดนานๆบ้านร้อนง่าย

·        การต่อเติมจึงทำได้ยาก คุณสมบัติความแข็งแรง ถูกประเมินตามน้ำหนักสำเร็จรูป
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ประเภทงานก่อสร้าง มีความแตกต่างกันมากทีเดียว ในแง่ของวัสดุ และความยากง่ายในการก่อสร้าง ดังนั้น ควรยึดเอาความเหมาะสมเป็นหลักว่า จะเลือกซื้อบ้านแบบไหน ระหว่าง บ้านแบบ พรีคาสท์ กับ อิฐมวลเบา